วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


http://www.edteshno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adptive-hyprmedia-&cdtid=1 รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วย คือ การออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้โดย 3 องค์ประกอบ
1. รูปแบบหลัก จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่เหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ กับเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ

2. รูปแบบผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็นระดับความรู้ความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การรัยรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ

3. รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้

สรุปได้ว่า

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนคือ การออกแบบรูปแบบรูปแบบของระบบที่จะช่วยตอบสนองให้การเรียนของผู้เรียน เพื่อทำให้รู้ความสามารถของตนเองและยังช่วยเพิ่มและพัฒนาศักยภาพได้ 3 องค์ประกอบ เป็นการที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างรายการหนึ่งไปยังอีกรายการหนึ่ง ช่วยการรับรู้ จดจำ การแก้ปัญหา ภาษา สื่อหลายมิติจึงสะดวกกับผู้เรียนและมีความทันสมัยเชื่อมต่อกันได้อย่างเสรี


อ้างอิง
http://www.edteshno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adptive-hyprmedia-&cdtid=1

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม คืออะไร


ผศ.ดร. วรวิทย์ รัศมีพรหม (2531:108) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า การรวมเอาสื่อแต่ละชนิด และรูปแบบของสื่อนั้นๆ ให้บูรณการเข้าด้วยกันอย่างมีโครงสร้างที่ดีและมีระบบในการนำเสนอ ส่อแต่ละชนิดจะต้องออกแบบมาเพื่อเสริมสื่ออื่นๆ เพื่อทำให้ระบบสื่อประสมอันเป็นผลรวมนั้นมีคุณค่ายิ่งใหญ่กว่าผลรวมของส่วนย่อย

ผศ. วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:23) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า การนนำสื่อที่หลากหลาย ที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการเข้าสู่บทเรียนได้ดีสื่อบางชนิดใช้เพื่อการให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน

วาสนา ควรหาเวช (1965:11) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า การนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกันเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ อีกอย่างหนึ่งใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้ค้นพบที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

สรุปได้ว่า

สื่อประสม การรวมเอาสื่อแต่ละชนิด และรูปแบบของสื่อนั้นๆ ให้บรูณาการเข้าด้วยกันอย่างมีโครงสร้างที่ดี และมีระบบในการนำเสนอทำให้มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกันเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เร้าความสนใจ จะช่วยตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันจึงทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

วรวิทย์ นิเทคศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี: บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด, 2551.

วรวินทร์ รัศมีพรม.สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.2531.

วาสนา ชาวหา.สื่อการสอน.กรุเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533

สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอน คืออะไร


ดร. ชาญชัย ยมดิษฐ์ (2548:417) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า เป็นตัวกลางเชื่อมโยงความรู้ ความเข้าใจระหว่างสารที่ผู้สอนสารส่งไปยังผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนด

ผศ. วาสนา ชาวหา (2533:8) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะ หรือพาหนะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี

ผศ. วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:12) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนว่า วัสดุและอุปกรณ์หรืออาจจะเป็นวิธีการที่เป็นตัวกลางการถ่ายทอดในการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้รับรู้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความเข้าใจตรงกัน

สรุปได้ว่า

สื่อการสอน เป็นตัวกลางเชื่อมโยงความรู้ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรือแม้แต่ว่าเป็นขบวนการวิธีการสอน ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจที่ตรงกัน

อ้างอิง

ชาญชัย ยมดิษฐ์.เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย.กรุงเทพฯ: บริษัทหลักพิมพ์จำกัด,2548.

วรวิทย์ นิเทคศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี: บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด, 2551.

วาสนา ชาวหา.สื่อการสอน.กรุเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0 เทคโนโลยีสารสนเทสมีบทบาทต่อการศึกษา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอ โปรเจคเตอร์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รูปแบบของสื่อที่ทำมาให้ในด้านการเรียนการสอน ก็หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอมเฟอร์เรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรมแกรมการสอนซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI (Computer-Assisted Instruction) การจัดโปรมแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia)ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ โปรมแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอดจนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

2. การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บการฝึกอบรมผ่านเว็บ การเรียนการสอนผ่านเวิร์ดไวท์ การสอนผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

3. อิเล็กทรอนิกส์บุค คือ การเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือหรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่องซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่างๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเรื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกอิเล็กทรอนิกส์บุคซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขี้ได้

4. วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษรในขณะการประชุมในเวลาเดียงกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ดุเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของผู้สอนเห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพและเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน

5. การสืบค้นข้อมูล ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูลจนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กันคือ World Wide Web หรือเรียกว่า www.

6. อินเตอร์เน็ต คือ ขอบข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้าน เครื่องในปัจจุบัน

http://www.edu.nu.dc.th/supanees/lesson/366515/uint2_po1.html

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการศึกษา คือ

1. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชน”

2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ

3. การพัฒนาบุคคลกรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี

4. บทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการศึกษาอินเตอร์เน็ต ”เครือข่ายแห่งเครือข่าย ” ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี



สรุปได้ว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการศึกษา คือ การศึกษาที่ไร้พรมแดนเป็นการเรียนแบบอิสรเสรีประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาได้ ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเพิ่มทักษะในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยได้อย่างคล่องตัว อีกด้านหนึ่งเป็นการพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ผู้ที่มาศึกษาสามารถนำไปใช้ประโชน์ต่อไปได้

อ้างอิง

http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0

http://www.edu.nu.dc.th/supanees/lesson/366515/uint2_po1.html

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมาถึงอะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมาถึงอะไร


http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง

1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

http://sirigate15.blogspot.com/2007/09/blog-post_8565.html เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก

สรุปได้ว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำไปใช้ในขบวนการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ โดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูลและการสื่อสารโทรคมนาคม การพิมพ์การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล และการดูแลข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก เพื่อจะได้สามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

อ้างอิง

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm

http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp

http://sirigate15.blogspot.com/2007/09/blog-post_8565.html

เทคโนโลยี หมายถึง

เทคโนโลยี หมายถึง


ผศ. วรวิทย์ นิเทคศิลป์ (2551 : 39) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีว่า วิทยากรที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกานปฏิบัติและอุตสาหกรรมความรู้เกี่ยวกับศาสตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดการปะเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน

สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2525 : ไม่ระบุ) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีว่า การเอาขบวนการวิธีการและแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานในด้านต่างๆและสังคม

สมบูรณ์ สงวนยาติ (2534 : 16) ได้กล่าวเกี่ยวเทคโนโลยีว่า การนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆ มาประยุกต์ให้เกิดเป็นระที่ดี ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหา ในเรื่องใดเรื่องให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปได้ว่า

เทคโนโลยี การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์ต่างๆ นำมาใช้อย่างมีระบบเป็นขบวนการ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง

วรวิทย์ นิเทคศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี: บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด, 2551

สมบูรณ์ สงวนญาติ.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู 2534

สมหญิง เจริญจิตรกรรม.เทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปกร,2525

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


บุญเกื้อ ควรหาเวช (2531:5) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ในระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2525 : ไม่ระบุ) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่า ความคิดและการกระทำใหม่ทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดร.อริศรา ชูชาติ (2549 : 19) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่า ความใหม่ในด้านการศึกษาอาจเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาเป็นทฤษฎีใหม่รวมทั้งการนำเสนอด้วยสื่อใหม่ๆ และมีแนวคิดในการเรียนการสอนด้วย

สรุปได้ว่า

นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมาให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง

บุญเกื้อ ควรหาเวช .นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ:ไม่ระบุ,2531

สมหญิง เจริญจิตรกรรม.เทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปกร,2525

อริศรา ชูชาติ.นวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่ง มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

นวัตกรรม คืออะไร

นวัตกรรม คืออะไร


ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:257) ได้กล่าวเกี่ยวนวัตกรรมว่า ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการแก้ปัญหาต่างๆ

บุญเกื้อ ควรหาเวศ (2531:12) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

รศ.ดร.สาโรช โศภีรักข์ (2546:26) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือนักวิชาการที่คิดว่าไม่ใช้แล้วกลับมาเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมให้มีประโยชน์และมีคุณค่า ตลอดจนให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปได้ว่า
นวัตกรรม ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ นำมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมให้มีปะโยชน์มากขึ้น ตลอดจนจะนำไปใช้กับเศรษฐกิจพอเพียง

อ้างอิง

บุญเกื้อ ควรหาเวช .นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ:ไม่ระบุ,2531

วรวิทย์ นิเทคศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี: บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด, 2551

สาโรช โศภีรักข์.นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์, 2546

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ แต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ แต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร


http://www.csjoy.com/story/net/the.htm≠b ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์แนวคิดเกี่ยวกับกราเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขึ้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีเน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพผู้เรียนให้การเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ให้ผู้เรียนประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสมสภาพความเป็นจริง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนและเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัยครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรจุผล

ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรง เสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้มักจึงคำนึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนของทฤษฎีนี้ คือความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ

ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์

ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น

ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่

ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้

ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ

ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ

ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์

ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้

สรุปได้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียงให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมายและเน้นการเรียนรู้กระบวบการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผลจึงควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด

อ้างอิง

http:www.csjoy.com/story/net/tne.htm≠b

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร


http://th.wikipedia.org/wiki ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด ความสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้องการซักถาม ผู้ใหญ่มักจะเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

http://www.kroobannok.com/1549 ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เพียเจท์ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น ซึ่งเสนอในรูปสมการลูกศรทางเดียวได้ดังนี้

S --------------------> O

S (Stimulant) คือ แรงกระตุ้น อาจเป็นครู ผู้สอนหรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นนักเรียนหรือผู้เรียน

O (Organism) คือผู้ที่ถูกกระตุ้น คือนักเรียน ผู้เรียน

http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm≠b ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกันแต่เด็กจะเรียนรู้ในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนหลักการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ

สรุปได้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ส่วนหลักการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki

http://csjoy.com/story/net/the.htm≠b

http://www.kroobannok.com/1549